วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จากดินสู่ดาว

ผีเสื้อ




โลกเรานี้มีผีเสื้อมากกว่า 20,000 ชนิด แต่ถ้ารวมผีเสื้อกลางคืน หรือที่เรียกว่า มอท (moth) เข้าไปด้วยละก็มีมากกว่า 110,000 ชนิดทีเดียว วงจรชีวิตของผีเสื้อนับว่าน่าสนใจมากเลย คือ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ



ระยะแรก เป็นเวลาที่สั้นสุด คือระยะของไข่ จำนวนที่ออกมานั้นขึ้นอยู่กับชนิดของผีเสื้อ
บางชนิดมีถึง 400 ฟอง ไข่แต่ละฟองจะเป็นตัวภายใน 5 - 15 วัน



ต่อจากนั้นก็เป็นระยะตัวหนอน ซึ่งก็จะกินใบไม้ ดอกไม้ขณะยังตูม หรือผลไม้เป็นอาหาร
หนอนผีเสื้อใช้วิธีเดียวกับงูในการสร้างความเติบโตให้กับตนเอง คือจะใช้วิธีลอกคราบ เพราะหนังหุ้มตัวของผีเสื้อไม่ได้โตตามตัว จึงต้องสลัดทิ้งซะเลย




พอหนอนโตเต็มที่ก็จะหาที่เหมาะๆเพื่อลอกคราบครั้งสุดท้าย ซึ่งเรียกว่าเป็นระยะที่ 3 ของชีวิต โดยพวกหนอนจะใช้วิธีปั่นใยรอบตัวยึดกับต้นไม้ เวลาต่อมาผีเสื้อก็่จะออกจากที่ห่อหุ้ม ความสวยงามก็ได้บังเกิดขึ้นแล้ว มีปีกที่สวยงามและจะโบยบินไปหาอาหารจากเกสรดอกไม้ และทำหน้าที่ผสมพันธุ์ให้กับพืช



ผีเสื้อต้องขยันทำงานมาก เพราะชีวิตการทำงานจะสั้นมาก ศัตรูก็เยอะ ก่อนจะหมดสิ้นอายุขัยก็ต้องพยายามสืบพันธุ์วางไข่เพื่อให้มีผีเสื้อรุ่นใหม่ ออกมารับใช้ธรรมชาติต่อไป

ของแปลกจาก bio

ปลาแปลกๆ จากท้องทะเลลึก
ความแปลกตาของปลาใต้ท้องทะเลลึกเกิดจากความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งลักษณะนี้เป็นการปรับตัวเพื่อการอยู่ลอดซึ่งลักษณะที่ปรากฏของปลาแต่ละลักษณะจะแตกต่างกันตามชนิดของอาหาร ดังรูปปลาใต้ท้องทะเลลึกดังนี้









ภาพสัตว์แปลกๆ ที่คุณได้ดู คุณลองคิดดูว่าคุณเป็นปลาชนิดใด

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างนาโนธรรมชาติ ตอนใยแมงมุม

แมงมุมสร้างใยเพื่ออนาคต



แมงมุมสร้างใยของมันเพื่อเป็นที่อยู่ ดักเหยื่อ วางไข่ และเส้นใยของมันคือวัสดุมหัศจรรย์เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์พบว่าเส้นใยของแมงมุมมีความยืดหยุด และแข็งแรงมากพอที่จะทำดักผึ้งซึ่งบินด้วยความเร็ว 32 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงได้โดยที่ใยแมงมุมไม่ขาด เส้นใยของแมงมุมมีความแข็งแรงมาก จากการทดสอบพบว่ามีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กที่มีน้ำหนักเท่ากันถึง 6 เท่า เปรียบเทียบได้ว่า ถ้าหากใยแมงมุมมีความหนาเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับขนาดดินสอ ใยแมงมุมสามารถ หยุดการเคลื่อนที่ของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ที่กำลังบินอยู่ได้ เส้นใยของแมงมุม บางชนิดเช่น Araneus diadematus สามารถยืดยาว ได้ร้อยละ 30-40 ก่อนจะขาด ในขณะที่โลหะสามารถยึดได้เพียง ร้อยละ 8เท่านั้น และไนลอนสามารถยืดได้ประมาณร้อยละ 20 จากการทดสอบในห้องทดลองนักวิทยาศาสตร์ พบว่า เส้นใยแมงมุมมีความทนทานต่อการย่อยสลายได้สูง อีกทั้งยังสามารถปั่นทอเส้นใย ได้ทั้งในอากาศ เส้นใยแมงมุมกว่าร้อยละ 50 ประกอบด้วยโปรตีน ที่เรียกว่า ไฟโปรอิน (fibroin)ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 200,000 -300,000 ดาลตัน โดยสร้างจากต่อมสร้างใยของแมงมุม ใน ปี 2002 นักวิทยาศาสตร์ในแคนนาดาได้คัดแยกยีนจากแมงมุม และนำไปใส่ในเซลล์ของแพะ โดยใช้เทคนิคทาง พันธุวิศวกรรม และพบว่าแพะ สามารถผลิตน้ำนมที่มี fibroin ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดเดียวกันกับที่พบในใยแมงมุมได้
ในขณะที่ทีมวิจัยในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบว่าเส้นใยของแมงมุมและเส้นประกอบด้วยเส้นใยมีขนาดเล็กมากประมาณ20 นาโนเมตรมาพันกันทำให้ใยแมงมุมมีความเหนียว และยืดหยุ่นได้ดี แตกต่างจากเส้นใยทั่วไป













นักวิทยาศาสตร์ได้เลียนแบบการสร้างเส้นใยของแมงมุม โดยการใช้กระบวนการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิตหรือ Electrospinning ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนได้แก่ หลอดบรรจุสารละลายพอลิเมอร์ที่ต่อกับขั้วอิเล็กโทรด เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงสูง ที่มีกระแสไฟฟ้าระดับต่ำ และอุปกรณ์รองรับเส้นใย ในการผลิตเส้นใยระดับนาโนเมตร เริ่มจากการให้ความต่างศักย์ของสนามไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปยังสารละลายพอลิเมอร์ หรือพอลิเมอร์หลอมเหลว กระแสไฟฟ้าจะทำให้สารละลายเกิดเป็นประจุไฟฟ้าขึ้น เมื่อพอลิเมอร์มีประจุชนิดเดียวกัน ก็จะเกิดการผลักกันของประจุ ทำให้เกิดการฉีดตัวตัวออกมาเป็นเส้นใย ในระหว่างที่พอลิเมอร์ถูกฉีดออกมาผ่านหัวฉีด เพื่อตรงไปยังอุปกรณ์รองรับ ตัวทำละลายจะระเหยออกไป ทำให้เกิดเป็นเส้นใยขึ้น นอกจากนั้นยังมีสนามไฟฟ้าภายนอกเป็นตัวผลักดันพอลิเมอร์ที่มีประจุ ให้เคลื่อนที่มายังอุปกรณ์รองรับเส้นใย วิธีการนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถผลิตเส้นใยต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นวัสดุที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ เช่น การยืดหยุ่นด้านการควบคุมอุณหภูมิ ความเสถียร และ การดูดกลืนรังสี ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้ สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ระดับอุตสาหกรรมการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ในอวกาศ ผลิตเส้นใยนำแสง ระบบควบคุมการปลดปล่อยยา และสารออกฤทธิ์ รวมถึงการผลิต นักวิทยาศาสตร์ได้เลียนแบบการสร้างเส้นใยของแมงมุม โดยการใช้กระบวนการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิตหรือ Electrospinning ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนได้แก่ หลอดบรรจุสารละลายพอลิเมอร์ที่ต่อกับขั้วอิเล็กโทรด เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงสูง ที่มีกระแสไฟฟ้าระดับต่ำ และอุปกรณ์รองรับเส้นใย ในการผลิตเส้นใยระดับนาโนเมตร เริ่มจากการให้ความต่างศักย์ของสนามไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปยังสารละลายพอลิเมอร์ หรือพอลิเมอร์หลอมเหลว กระแสไฟฟ้าจะทำให้สารละลายเกิดเป็นประจุไฟฟ้าขึ้น เมื่อพอลิเมอร์มีประจุชนิดเดียวกัน ก็จะเกิดการผลักกันของประจุ ทำให้เกิดการฉีดตัวตัวออกมาเป็นเส้นใย ในระหว่างที่พอลิเมอร์ถูกฉีดออกมาผ่านหัวฉีด เพื่อตรงไปยังอุปกรณ์รองรับ ตัวทำละลายจะระเหยออกไป ทำให้เกิดเป็นเส้นใยขึ้น นอกจากนั้นยังมีสนามไฟฟ้าภายนอกเป็นตัวผลักดันพอลิเมอร์ที่มีประจุ ให้เคลื่อนที่มายังอุปกรณ์รองรับเส้นใย วิธีการนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถผลิตเส้นใยต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นวัสดุที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ เช่น การยืดหยุ่นด้านการควบคุมอุณหภูมิ ความเสถียร และ การดูดกลืนรังสี ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้ สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ระดับอุตสาหกรรมการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ในอวกาศ ผลิตเส้นใยนำแสง ระบบควบคุมการปลดปล่อยยา และสารออกฤทธิ์ รวมถึงการผลิต Sensors ขนาดเล็ก




วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สิ่งมีชีวิตใหม่ของโลก

กิ้งกือมังกรสีชมพู

กิ้งกือมังกรสีชมพู (อังกฤษ: shocking pink millipede; ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmoxytes purpurosea ) เป็นกิ้งกือมังกรที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก ค้นพบโดยนักสำรวจสมัครเล่น กลุ่ม siamensis.org ซึ่งต่อมาได้แจ้งให้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะทราบเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริเวณป่าเขาหินปูนแถบภาคกลางตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง

กิ้งกือมังกรสีชมพูจัดในวงศ์กิ้งกือมังกร มีสีชมพูสดใสแบบช็อกกิงพิงก์ (shocking pink) มีปุ่มหนามคล้ายมังกร เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 ซม. มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถขับสารพิษประเภทไซยาไนด์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวเพื่อป้องกันตนเองจากศัตรูธรรมชาติ



ปลากระเบนไฟฟ้า



ปลากระเบนไฟฟ้าชนิดนี้เป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ในวงศ์นาร์คิดี (Narkidae) พบบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของประเทศแอฟริกาใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อิเล็กทรอลักซ์ แอดดิโซนิ (Electrolux addisoni) ซึ่งอิเล็กทรอลักซ์นั้นมาจากชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนชื่อสามัญเรียกว่าออร์เนท สลีพเพอร์ เรย์ (Ornate sleeper ray) ด้วยลักษณะพิเศษที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้และชื่อเรียกที่น่ารักน่าขัน ทำให้มันขึ้นแท่นอันดับ 1 ของ 10 สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในโลกประจำปี 2550 ซึ่งการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าชนิดนี้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความหลากหลายของปลาในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกได้ว่ามากน้อยเพียงใด



ฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ด


ฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดนี้ถูกค้นพบโดยทีมนักบรรพชีวินวิทยาของพิพิธภัณฑ์แอลฟ์ (Alf Museum) ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า ไกรโพซอรัส โมนูเมนท์เอนซิส (Gryposaurus monumentensis) นับได้ว่าเป็นฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ และคาดว่าน่าจะเป็นไดโนเสาร์ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในแหล่งขุดข้นฟอสซิลบริเวณที่ราบทางตอนใต้ในรัฐยูทาห์ (Kaiparowits Plateau) เมื่อ 75 ล้านปีก่อน

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
















Organell


1. Organell ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม

1.1 ไรโบโซม




พบอยู่ในเยื้อหุ้มนิวเครียส จะทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนแล้วส่งเข้าไปใช้ในนิวเครียส
พบอยู่ในเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม จะทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนแล้วส่งออกนอกเซลล์
พบอยู่อย่างอิสระ จะทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนใช้ในเซลล์

1.2. เซนทริโอ



จะทำหน้าที่ในการแยกโครโมโซมออกจากกันในระยะแอนาเฟต

1.3. Cytoskeleton


ทำหน้าทึี่ในการให้ความเข็งแรงแก่ร่างกาย และช่วยในการเคลื่อนที่ของร่างกาย